วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด

สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด
1. สัญญาณมือ

ในการฝึกระเบียบแถว ผู้กำกับลูกเสืออาจสั่งด้วยสัญญาณมือ ลูกเสือจึงจำเป็นต้องเรียนรู้สัญญาณมือเพื่อจะได้แปลสัญญาณมือที่ได้รับและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว สัญญาณมือที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้มีดังนี้
1) เตรียมคอยฟังคำสั่งหรือหยุด
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ มือแบ นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกัน หันฝ่ามือไปข้างหน้า
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ให้ลูกเสือ หยุดการเคลื่อนไหว หรือหยุดการกระทำการต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่หันหน้าไปทางผู้บังคับบัญชาเพื่อคอยฟังคำสั่ง ถ้าอยู่ในแถวให้ยืนอยู่ในท่าตรง



2) รวมหรือกลับมา
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ แบมือไปข้างหน้านิ้วมือทั้งห้านิ้วชิดติดกันและหมุนมือเป็นวงกลมจากซ้ายไปขวา
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือรวมกองรีบมาเข้าแถวรวมกัน





3) จัดแถวหน้ากระดาน
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนทั้งสองออกไปด้านข้างเสมอไหล่ ฝ่ามือแบไปข้างหน้านิ้วเรียงชิดติดกัน
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ให้ลูกเสือ เข้าแถวหน้ากระดาน หันหน้าไปหาผู้ให้สัญญาณ






4) จัดแถวตอน
การให้สัญญาณ ผู้กำกับลูกเสือจะเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า แนวเดียวกับไหล่ แขนขนานกัน ฝ่ามือแบเข้าหากัน
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือเข้าแถวตอน








5) เคลื่อนที่ไปยังทิศที่ต้องการ
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะหันหน้าไปยังทิศที่ต้องการชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะสุดแขน ฝ่ามือแบไปข้างหน้า นิ้วชิดกันแล้วลดแขนลงเสมอไหล่
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือ วิ่งไปยังทิศทางที่มือผู้ให้สัญญาณชี้ไป




6) เร่งจังหวะหรือทำให้เร็วขึ้น
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะงอแขนขวามือกำเสมอบ่าแล้วชูขึ้นตรงเหนือศีรษะแล้วลดลงหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือรีบวิ่งหรือเร่งจังหวะสิ่งที่ทำอยู่ให้เร็วขึ้น






7) นอนลงหรือเข้าที่กำบัง
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาตรงไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ฝ่ามือแบคว่ำลง นิ้วชิดกันแล้วลดแขนลงและยกขึ้นที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง
เมื่อลูกเสือเห็นสัญญาณนี้ให้รีบนอนหรือเข้าที่กำบังทันที
8) ลุกขึ้น
การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาตรงไปข้างหน้าเสมอไหล่ฝ่ามือแบหงายขึ้นนิ้วชิดและลดลงที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง
เมื่อลูกเสือเห็นสัญญาณนี้ให้รีบลุกขึ้นทันที


2. การใช้สัญญาณมือเป็นคำสั่งแถว
1) สัญญาณมือพักตามระเบียบ
การให้สัญญาณในขณะที่ลูกเสืออยู่ในแถว หากผู้กำกับจะสั่งให้พักจะทำสัญญาณมือเป็น 2 จังหวะดังนี้

จังหวะที่ 1 กำมือขวา งอแขนตรงข้อศอกให้มือที่กำอยู่ประมาณตรงหัวเข็มขัดหันฝ่ามือที่กำเข้าหาเข็มขัด


จังหวะที่ 2 สลัดมือที่กำและหน้าแขนออกไปทางขวา เป็นมุม 180 องศาประมาณแนวเดียวกับเข็มขัดเมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือพักตามระเบียบ






2) สัญญาณมือท่าตรง
การให้สัญญาณ ขณะที่กำลังพักตามระเบียบ ผู้กำกับจะสั่งให้ตรงด้วยการทำสัญญาณมือเป็น 2 จังหวะดังนี้
จังหวะที่ 1 กำมือขวา แขนเหยียดตรงไปทางขวา ให้มือกำอยู่ในระดับเข็มขัด
จังหวะที่ 2 กระตุกหน้าแขนเข้าหาตัว ให้มือที่กำกลับมาอยู่ตรงหัวเข็มขัด
เมื่อเห็นสัญญาณนี้ ให้ลูกเสือชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา ลดแขนที่ไขว้หลังมาอยู่ในท่าตรง







2. สัญญาณนกหวีด
ในการออกคำสั่งแก่ลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสืออาจสั่งด้วยสัญญาณนกหวีดก็ได้ ลูกเสือจึงเข้าใจความหมายของสัญญาณนกหวีด เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วสัญญาณที่ควรรู้มีดังนี้
1. สัญญาณหยุดหรือฟัง เสียงหวีดยาว 1 ครั้ง “หวีด”(-)เป็นสัญญาณให้ลูกเสือหยุดกระทำการใด ๆ หรือเตรียมตัวคอยฟังคำสั่งที่ผู้กำกับลูกเสือจะสั่งต่อไป
2. สัญญาณทำต่อไป เสียงหวีดยาว 2 ครั้ง “หวีด…หวีด” ( ) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือทำงานต่อ เดินต่อไปหรือเคลื่อนที่ต่อไป
3. สัญญาณเกิดเหตุ เสียงหวีดสั้น 1 ครั้งยาว 1 ครั้งสลับกันไปหลาย ๆ ครั้ง “วิด…หวีด” “วิด…หวีด” “วิด…หวีด”( . - . - . - )เป็นสัญญาณให้ลูกเสือระวังตัวเพราะเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดเหตุร้ายขึ้น
4. สัญญาณรวมกอง เสียงหวีดสั้นติดกันหลาย ๆ ครั้ง “วิด…วิด…วิด…วิด…วิด…วิด…วิด…วิด…วิด..วิด” ( …. ) เป็นสัญญาณให้ลูกเสือรวมกอง หรือมาประชุม
5. สัญญาณเรียกนายหมู่ เสียงหวีดสั้น 3 ครั้งยาว 1 ครั้ง สลับกันไป “วิด…วิด…วิด…หวีด,วิด…วิด…วิด…หวีด,วิด…วิด…วิด…วิด…หวีด” (…- …-) เป็นสัญญาณให้นายหมู่หรือรองนายหมู่ไปหาผู้ให้สัญญาณเพื่อรอรับคำสั่ง
หมายเหตุ เมื่อจะใช้สัญญาณตามข้า 2 3 4 และ 5 จะต้องใช้สัญญาณในข้อ 1 ก่อน ทุกครั้ง


3. การตั้งแถวและการเรียกแถว
ในการฝึกระเบียบแถวของลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสือมักจะใช้สัญญาณมือซึ่งเป็นสัญญาณเงียบ ลูกเสือจะต้องเข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง รวดเร็ว การเข้าแถวของลูกเสือนั้น มีหลักการว่านายหมู่จะต้องอยู่หัวแถว และรองนายหมู่จะต้องอยู่หางแถวเสมอ รูปแบบของการตั้งแถวมีดังนี้
1. แถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว
เมื่อได้ยินผู้กำกับลูกเสือเรียก “กอง” และเห็นผู้เรียกอยู่ในท่าตรง เหยียดแขนทั้งสองไปด้านข้างเสมอแนวไหล่ มือแบ หันฝ่ามือไปข้างหน้า นิ้วมือเรียงชิดติดกัน
ให้ลูกเสือรีบไปเข้าแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว หันหน้าเข้าหาผู้เรียก โดยนายหมู่ยืนทางซ้ายมือของผู้เรียก กะให้ผู้เรียกอยู่กึ่งกลางแถวและห่างจากแถวประมาณ 6 ก้าว ลูกหมู่ยืนต่อกันไปทางซ้ายมือของนายหมู่จนถึงคนสุดท้ายคือรองนายหมู่








การจัดระยะเคียง ถ้า “ปิดระยะ” ระยะเคียงจะเป็น 1 ช่วงศอก คือ ให้ยกมือซ้ายทาบสะโพก นิ้วเหยียดชิดติดกัน นิ้วเหยียดชิดติดกัน นิ้วกลางอยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง แขนขวาแนบกับลำตัว จัดแถวให้ตรงโดยสะบัดหน้าแลขวา ให้เห็นหน้าอกคนที่ 4 นับจากตัวลูกเสือเองเมื่อผู้เรียกตรวจแถวสั่งว่า “นิ่ง” ให้ลดมือลงพร้อมกับสะบัดหน้ามาอยู่ในท่าตรงและนิ่ง
ถ้า “เปิดระยะ” ระยะเคียงจะเป็น 1 ช่วงแขนซ้ายขึ้นเสมอไหล่คว่ำฝ่ามือลง นิ้วทั้งห้าชิดกัน ให้ปลายนิ้วซ้ายจดไหล่ขวาของคนต่อไป จัดแถวให้ตรง โดยสะบัดหน้าแลขวาให้เห็นหน้าอกคนที่ 4 เมื่อได้ยินคำสั่งว่า “นิ่ง” จึงลดมือลง สะบัดหน้ากลับมาอยู่ในท่าตรงและนิ่ง
กรณีมีหลายหมู่ หมู่อื่นเข้าแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวเหมือนที่กล่าวข้างต้นระยะเคียงระหว่างหมู่เท่ากับระยะเคียงระหว่างบุคคล (คือ 1 ศอก)


2. แถวตอนเรียงหนึ่ง
เมื่อได้ยินผู้กำกับลูกเสือเรียก “กอง” พร้อมกับเหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่มือแบหันฝ่ามือเข้าหากัน นิ้วเรียงชิดติดกัน
ในกรณีหมู่เดียว ให้นายหมู่ยืนตรงเป็นหลักข้างหน้าผู้เรียก กะให้ห่างจากผู้เรียกประมาณ 6 ก้าว ลูกหมู่เข้าแถวต่อหลังนายหมู่ต่อ ๆ กันไปจัดแถวให้ตรงคอคนหน้า ระยะต่อระหว่างบุคคล 1 ช่วงแขน (ไม่ต้องยกแขน)


แถวตอนหมู่ กรณีแถวตอนเรียงหนึ่งหลายหมู่เรียก “แถวตอนหมู่” สมมุติว่ามี 5 หมู่ ให้หมู่ที่อยู่ตรงกลางคือหมู่ที่ 3 ยืนเป็นหลักตรงหน้าผู้เรียกห่างจากผู้เรียกประมาณ 6 ก้าว หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 1 เข้าแถวอยู่ในแนวเดียวกันไปทางซ้ายมือเรียกส่วนหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ก็เข้าแถวอยู่ในแนวเดียวกัน แต่ไปทางขวามือของผู้เรียก ระยะเคียงระหว่างหมู่ประมาณ 1 ช่วงศอก ส่วนระยะต่อระหว่างบุคคล 1 ช่วงแขน(ไม่ต้องยกแขน)

3. แถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ
เมื่อได้ยินเสียงเรียกว่า “กอง” และเห็นผู้เรียกยืนในท่าตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า ขนานกับพื้น งอข้อศอกขึ้นเป็นมุมฉาก กำมือหันหน้าเข้าหากัน






ให้ลูกเสือหมู่แรกเข้าแถวตรงหน้าผู้เรียก และอยู่ห่างจากผู้เรียกประมาณ 6 ก้าวนายหมู่อยู่ทางซ้ายมือของผู้เรียก กะให้กึ่งกลางของหมู่อยู่ตรงหน้าผู้เรียก ลูกหมู่ยืนต่อ ๆ ไปทางซ้ายของนายหมู่ เว้นระยะเคียง 1 ช่วงศอก
หมู่อื่น ๆ เข้าแถวหน้ากระดานข้างหลังหมู่แรกซ้อน ๆ กันไปตามลำดับ เว้นระยะต่อระหว่างหมู่ประมาณ 1 ช่วงแขน
การจัดแถว เมื่อผู้สั่งว่า “จัดแถว” ให้ทุกคน (ยกเว้นคนสุดท้าย) ยกมือซ้ายทาบสะโพก นิ้วเหยียดชิดกัน นิ้วกลางอยู่ในแนวตะเข็บกางเกง แขนขวาแนบลำตัว และสะบัดหน้าไปทางขวา เมื่อสั่ง “นิ่ง” ให้ทุคนลดแขนลงพร้อมสะบัดหน้าอยู่ในท่าตรง
4. แถวหน้ากระดานหมู่เปิดระยะ
ผู้เรียกยืนในท่าตรงยกแขนทั้งสองข้าง งอข้อศอกเป็นมุมฉาก แบะแขนออกจนเป็นแนวเดียวกับไหล่ หันหน้ามือไปข้างหน้า
ให้ลูกเสือเข้าแถว เช่นเดียวกับแถวหน้ากระดานปิดระยะ แต่เว้นระยะต่อระหว่างหมู่ห่างกันหมู่ละประมาณ 3 ก้าว
การจัดแถว ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับแถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ





5. แถวรูปครึ่งวงกลม
เมื่อได้ยินเสียงเรียก “กอง” และเห็นผู้เรียกยืนอยู่ในท่าตรง แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้าเสมอระดับเอว ฝ่ามือคว่ำ ข้อมือขวากับข้อมือซ้าย แล้วโบกผ่านลำตัวไขว้กันตรงหน้า 3 ครั้ง
ให้นายหมู่ลูกเสือหมู่แรกยืนอยู่ในแนวด้านซ้ายของผู้เรียกห่างจากผู้เรียกพอสมควร ลูกหมู่ยืนต่อ ๆ กันไปทางซ้ายมือของนายหมู่ เว้นระยะเคียง 1 ช่วงศอก (มือเท้าสะโพก) สะบัดหน้าไปทางขวารอคำสั่ง “นิ่ง”








หมู่ที่ 2 และหมู่อื่น ๆ เข้าแถวต่อจากด้านซ้ายของหมู่แรก ตามลำดับ เว้นระยะระหว่างหมู่ 1 ช่วงศอก รองนายหมู่สุดท้าย จะยืนตรงด้านขวาของผู้เรียก ในแนวเดียวกันกับนายหมู่แรก จัดแถวให้เป็นครึ่งรูปวงกลม ยกมือซ้ายขึ้นทาบสะโพก สะบัดหน้าไปทางขวา
การจัดแถว เมื่อได้ยินคำสั่งว่า “นิ่ง” ให้ลูกเสือทุกคนลดแขนลงพร้อมกับสะบัดหน้ากลับมาอยู่ในท่าตรง

6. แถวรูปวงกลม
การเรียกแถวแบบผู้เรียกยืนอยู่ที่จุดศูนย์กลาง
เมื่อได้ยินเสียงเรียก “กอง” และเห็นผู้เรียกยืนอยู่ในท่าตรง เหยียดแขน ทั้งสองข้างไปข้างหน้า อยู่ในระดับเอว ฝ่ามือแบคว่ำไขว้กัน ข้อมือขวาทับข้อมือซ้าย แล้วโบกผ่านลำตัวจากด้านหน้าไปประสานกันที่ด้านหลัง โดยแบฝ่ามือทั้งสองหงายขึ้นหลังจากมือขวาทับมือซ้าย (โบกผ่านลำตัว 3 ครั้ง)











ให้ลูกเสือเข้าแถวเช่นเดียวกับแถวครึ่งวงกลม แต่ให้คนท้ายแถว (ของนายหมู่) ของหมู่สุดท้ายไปจดกับนายหมู่ของหมู่แรก ยกมือซ้ายขึ้นทาบสะโพก สะบัดหน้าไปทางขวา
การจัดแถว เมื่อได้ยินคำสั่งว่า “นิ่ง” ให้สะบัดหน้ากลับมาอยู่ในท่าตรง
การเรียกแถวแบบผู้เรียกอยู่ที่เส้นรอบวง
เมื่อได้ยินเสียงเรียก “กอง” และเห็นผู้เรียกยืนอยู่ในท่าตรง เหยียดแขนขวาตรงไปข้างหน้า มือขวากำขึ้นข้างบน หมุนเลยไปด้านหลังและหมุนกลับมาด้านหน้า ทำเช่นนี้อยู่ 3 ครั้ง
ให้ลูกเสือหมู่แรกยืนชิดด้านซ้ายมือของผู้เรียก หมู่ที่ 1 และหมู่ต่อ ๆ ไปอยู่ทางซ้ายมือของหมู่แรกตามลำดับ จนรองนายหมู่ของหมู่สุดท้ายไปจดขวามือของผู้เรียกให้ผู้เรียกอยู่ในเส้นรอบวง
7. แถวสี่เหลี่ยมเปิดด้านหนึ่ง
ผู้เรียกแถวยืนอยู่ด้านหนึ่ง (ซึ่งเป็นด้านเปิด) ศอกงอยกทั้งสองขึ้นข้างหน้า ให้หน้าแขนทั้งสองไขว้กันตรงฝ่ามือ ฝ่ามือทั้งสองแบเหยียดหันไปข้างหน้า ฝ่ามือขวาไขว้ทับฝ่ามือซ้ายประมาณแนวลูกคาง เป็นสัญญาณถ้ามีลูกเสือ 3 หมู่ ให้เข้าแถวในอีก 2 ด้านที่เหลือ โดยมีนายหมู่ 1 เข้าแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวทางด้านซ้ายของผู้เรียก หันหน้าเข้าในรูปสี่เหลี่ยม หมู่ 2 เข้าแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวด้านตรงข้ามกับผู้เรียก หันหน้าเข้าหาผู้เรียกและหมู่ 3 เข้าแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวตรงข้ามกับหมู่ 1 ทางด้านขวาของผู้เรียก
การเข้าแถวให้ลูกเสือมากกว่า 3 หมู่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้เรียกแถว แต่ควรให้ด้านซ้ายมือกับด้านขวามือมีจำนวนเท่ากัน
เมื่อผู้เรียกแถวตรวจแถวเรียบร้อยแล้วสั่งนิ่ง ลูกเสือทุกคนลดแขนลงพร้อมสะบัดหน้าอยู่ในท่าตรง
8. แถวรัศมีหรือล้อเกวียน
ผู้เรียกแถวยืนอยู่ในท่าตรง มือขวาแบคว่ำกางนิ้วออกทุกนิ้ว ชูแขนไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 45 องศาให้มองเห็นได้ แล้ว เรียก “กอง”
ให้ลูกเสือทุกหมู่มาเข้าแถวเป็นรูปหมู่แถวตอนหน้าผู้เรียก ห่างจากผู้เรียกประมาณ 6 ก้าว เป็นรูปรัศมีโดยให้หมู่แรกอยู่ด้านหน้าทางซ้ายมือผู้เรียกประมาณ 45 องศา หมู่ที่ 2 และหมู่ต่อๆ ไปอยู่ด้านซ้ายของหมู่แรกตามลำดับ ถือผู้เรียกเป็นจุดศูนย์กลาง ระยะต่อของแต่ละหมู่ระหว่างบุคคลประมาณ 1 ช่วงแขน ระยะเคียงระหว่างนายหมู่ต่อนายหมู่พอสมควรและนายหมู่หมู่สุดท้ายจะอยุ่ด้านหน้าทางขวามือของผู้เรียกประมาณ 45 องศา
การเข้าแถว ให้ลูกเสือทุกคน (เว้นคนอยู่หัวแถวของแต่ละหมู่) เหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า สูงเสมอแนวไหล่ คว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วมือจดหลังของคนหน้าพอดี ผู้เรียกแถวจัดแถวแล้วสั่ง “นิ่ง” ลูกเสือทุกคนลดแขนลงพร้อมกันและนิ่ง
สัญญาณนกหวีด
สำหรับการฝึกประจำวันหรือในโอกาสที่ผู้บังคับบัญชาอยู่ห่างไกลลูกเสือ ใช้สัญญาณ
ประเภทอื่นไม่สะดวกก็ใช้สัญญาณนกหวีดแทนคือ
1. หวีดยาว 1 ครั้ง ( ) ถ้าเคลื่อนที่ให้หยุด ถ้าหยุดอยู่เตือน, เตรียมตัวหรือคอยฟังคำสั่ง
2. หวีดยาว 2 ครั้ง ( ) เดินต่อไป, เคลื่อนที่ต่อไป, ทำงานต่อไป
3. หวีดสั้น 1 ครั้ง, หวีดยาว 1 ครั้ง สลับกันไป ( ) เกิดเหตุ
4. หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ติดต่อกันไป ( , ) เรียกนายหมู่มารับคำสั่ง
5. หวีดสั้นติดกันหลายๆ ครั้ง ( ) ประชุม, รวม
หมายเหตุ เมื่อจะใช้สัญญาณ (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ใช้สัญญาณ (1) ก่อนทุกครั้ง